กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะของเสียหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม
ถ้าจะพูดถึง กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการจัดการขยะของเสียหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม นั้น ก็จะมีอยู่ด้วยกันหลายฉบับ แต่หลักๆ ก็จะ เป็น.พ.ร.บ. โรงงาน และ พ.ร.บ. วัตถุอันตราย ที่ใช้กำกับดูแลโรงงานอุตสาหกรรม ซึ่งในแต่ละ พ.ร.บ. ก็จะมีทั้ง กฎกระทรวง ประกาศกระทรวง ประกาศกรมฯ ที่เกี่ยวข้องร่วมด้วย ซึ่งผมสรุปที่สำคัญๆไว้ในรูปให้แล้วนะครับ
กฎหมายที่เป็น key สำคัญ ของการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม นั้น ก็จะเป็น ประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง การกําจัดสิ่งปฏิกูลวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว พ.ศ. 2548 โดย เนื้อหาสำคัญ พอสรุปได้ ตามนี้ ครับ :
1) ประกาศฉบับนี้มีผลบังคับใช้กับโรงงานตาม พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 และ พ.ร.บ. โรงงาน (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2562 ทั้งที่ตั้งอยู่นอกเขตและใน เขต ประกอบการอุตสาหกรรม นิคมอุตสาหกรรม และโรงงานที่ได้รับการส่งเสริมการลงทุนตาม พ.ร.บ. ส่งเสริมการลงทุน
2) นิยามคำศัพท์ที่ชัดเจนที่เกี่ยวข้องกับการจัดการกากอุตสาหกรรม เช่น #สิ่งปฎิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้ว (Industrial waste) #ของเสียอันตราย (Hazardous waste) #การจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (Waste management) #ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช่แล้ว (Waste generator, WG) #ผู้รวบรวมและขนส่ง (Waste transporter, WT) #ผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว (Waste processer, WP) #ใบกำกับการขนส่ง และการแจ้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
3) รหัสของชนิดและประเภทของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว แบ่งออกเป็น 19 หมวดหมู่ โดยใช้ รหัส 6 หลัก
4) ประกาศฉบับนี้มีการระบุสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องปฏิบัติตาม ประกาศฉบับนี้ ได้แก่
> ขยะจากสำนักงาน บ้านพักอาศัยและโรงอาหารในบริเวณโรงงาน ที่เป็นของเสียไม่อันตราย
> กาก กัมมันตภาพรังสี
> มูลฝอยภายใต้ พ.ร.บ. สาธารณสุข
> น้ำเสียที่ส่งไปบำบัดยอกบริเวณโรงงาน ทางท่อส่ง
5) บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบ ของผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ได้แก่
> ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ต้องไม่เก็บสิ่งปฎิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วไว้ภายในโรงงาน เกินระยะเวลา 90 วัน หากเกินต้องยื่นขอต่อระยะเวลาในการเก็บโดยยื่นแบบ สก. 1
> ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ที่เข้าข่ายตามชนิดและขนาดโรงงานควบคุม ต้องมีผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่มีความรู้ เฉพาะด้านที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามที่กฎหมายระบุ และต้องจัดฝึกอบรม พนักงานที่ เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย
> ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต้องจัดทำแผนการป้องกันอุบัติภัยเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉิน และห้ามนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วออกนอกโรงงานเพื่อไปกำจัดโดยไม่ได้รับอนุญาต
> การบำบัดหรือกำจัดสิ่งปฏิกูลให้ดำเนินการตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กำหนด
> ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต้องยื่นขออนุญาตนำสิ่งปฏิกูลออกนอกบริเวณโรงงานให้ ใช้ แบบ สก. 2
> ในการนำของเสียอันตรายออกนอกบริเวณโรงงานทุกครั้งต้องมีใบกำกับการขนส่งและให้แจ้งต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมโดยการแจ้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
> ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต้องรับผิดชอบต่อภาระความรับผิดชอบ (Liability) ต่อกรณีต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นกับสิ่งปฎิกูลหรือวัสดุไม่ใช้แล้วของโรงงาน โดยสามารถแต่งตั้งตัวแทนเป็น ผู้รวบรวม และขนส่งได้ และต้องรับผิดชอบต่อภาระความรับผิดชอบร่วมกับผู้รวบรวมและขนส่งที่ได้แต่งตั้ง
> ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต้องส่งรายงานประจำปีให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมตาม แบบ สก. 3 ภายในวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไป
> ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต้องปฏิบัติตามกฎหมายอื่นๆที่เกี่ยวข้อง และกฎหมาย ระหว่าง ประเทศในการนำสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเข้ามาหรือออกนอกราชอาณาจักร
6) บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้รวบรวมและขนส่ง ได้แก่
> ผู้รวบรวมและขนส่งต้องปฏิบัติตามประกาศกระทรวงอุตสาหกรรม เรื่อง ระบบเอกสารกำกับ การขนส่งของเสียอันตราย พ.ศ. 2547 และประกาศมติคณะกรรมการวัตถุอันตราย เรื่อง การขนส่งวัตถุอันตรายทางบก พ.ศ. 2545
> ผู้รวบรวมและขนส่งต้องส่งรายงานประจำปีให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมตามแบบ สก. 4 ภายใน วันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไป
7) บทบาทและหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือ วัสดุที่ไม่ใช้แล้ว ได้แก่
> ผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กรมโรงงาน อุตสาหกรรมกำหนด และต้องรับบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วเฉพาะที่ได้รับ อนุญาต ตามเงื่อนไขที่ระบุในใบอนุญาตประกอบกิจการโรงานเท่านั้น
> ผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต้องใช้ใบกำกับการขนส่งตามที่กฏหมายกำหนด และ แจ้งต่อกรมโรงงานอุตสาหกรรมโดยการแจ้งทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์
> ผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต้องรับผิดชอบต่อภาระความรับผิดชอบ (Liability) เมื่อรับดำเนินการบำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว และลงลายมือชื่อในใบกำกับการขนส่งแล้ว
> ในการรวบรวมและขนส่งผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วสามารถแต่งตั้งตัวแทน เป็นผู้ รวบรวมและขนส่งได้ และต้องรับผิดชอบต่อภาระความรับผิดชอบร่วมกับผู้รวบรวมและขนส่งที่ได้แต่งตั้ง
> ผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต้องมีผลวิเคราะห์ทางเคมีและกายภาพของสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วก่อนการบำบัดหรือกำจัดจากห้องปฏิบัติการที่ได้ขึ้นทะเบียนไว้กับกรมโรงงานอุตสาหกรรม และต้องเก็บผลวิเคราะห์ไว้อย่างน้อง 3 ปี
> ผู้บำบัดและกำจัดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต้องมีผู้ควบคุมดูแลระบบป้องกันสิ่งแวดล้อมที่มี ความรู้ เฉพาะด้านที่ขึ้นทะเบียนกับกรมโรงงานอุตสาหกรรมตามที่กฎหมายระบุ และต้องจัด ฝึกอบรมพนักงานที่เกี่ยวข้องเพื่อให้สามารถปฏิบัติงานตามหน้าที่ได้อย่างถูกต้องปลอดภัย
> ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต้องจัดทำแผนการป้องกันอุบัติภัยเพื่อรองรับเหตุฉุกเฉิน หรือเหตุที่คาดไม่ถึง ตามหลักการ (ในภาคผนวกที่ 3)
> ผู้ก่อกำเนิดสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้วต้องส่งรายงานประจำปีให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมตาม แบบ สก. 5 ภายในวันที่ 1 มีนาคม ของปีถัดไป
ในรายละเอียดของกฎหมายการจัดการสิ่งปฏิกูลหรือวัสดุที่ไม่ใช้แล้ว สำหรับโรงงานอุตสาหกรรม ยังมีรายละเอียด อีกอยู่มากในทางปฏิบัติ ซึ่งผมยังไม่ได้พูดถึงในโพสนี้ ถ้าเพื่อนๆ มีคำถามหรือต้องการแลกเปลี่ยนกัน เพื่อนๆ สามารถ share ประสบการณ์กันมาได้นะครับ
กฎหมายฉบับเต็ม ถ้าเพื่อนๆสนใจเข้าไปดูรายละเอียดเพิ่มได้: