Waste Management Hierarchy
Waste Management Hierarchy เป็น ลำดับชั้นการจัดการของเสีย โดยเป็นเครื่องมือที่จะช่วยกำหนดกลยุทธ์หรือแนวทางในการบริหารจัดการของเสีย ภายในองค์ได้
การจัดระดับชั้นบริหารการจัดการของเสีย จะให้ความสำคัญกับป้องกันการเกิดของเสียที่แหล่งกำเนิดมากที่สุด (Waste Prevention) ตามด้วยการลดการเกิดและการนำของเสียหรือวัสดุมาใช้ซ้ำ (Reduce/Reuse) การแปรรูปกลับมาใช้ใหม่ (Recycle) นำพลังงานและวัสดุจากของเสียกลับมาใช้ใหม่ (Recovery) ก่อนที่จะนำไปกำจัดทิ้ง (Disposal)
#Prevention ; ป้องกันการเกิดของเสียที่แหล่งกำเนิดให้มากที่สุด เช่น
– ผลิตภัณฑ์ที่ออกแบบเพื่อสิ่งแวดล้อม
Eco-designed
– การเลือกใช้ทรัพยากรย่างมีประสิทธิภาพแลอย่าง
ยั่งยืน
– การจัดซื้อที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
Green purchasing
– การออกแบบที่ไม่ให้มีขยะ Waste-free by design
#Reduction ; การลดการเกิดและการนำของเสียหรือวัสดุมาใช้ซ้ำ เป็นการลดปริมาณของเสียที่ผลิตให้น้อยที่สุด ใช้วัสดุมากกว่าหนึ่งครั้ง
#Recycling การรีไซเคิลเป็นกระบวนการของการรวบรวมและแปรรูปวัสดุที่จะถูกกำจัดเป็นขยะและเปลี่ยนให้เป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ เช่น
– การรีไซเคิลวัสดุ
– เศรษฐกิจหมุนเวียน Circular economy
#Recovery การนำพลังงานและวัสดุจากของเสียกลับมาใช้ใหม่
– การ recover โลหะมีค่า
– การเผาเพื่อเอาพลังงานไปใช้
– ก๊าซชีวภาพจากขยะ
#Disposal การกำจัดของเสียอย่างปลอดภัย
– การเผาโดยไม่มีการนำพลังงานกลับมาใช้ใหม่
– ของเสียส่งไปยังหลุมฝังกลบ
Waste Management Hierarchy ในปัจจุบันก็มีแนวคิดหลากหลาย แตกต่างกันบ้างในรายละเอียด แต่ส่วนใหญ่ก็จะไปในทิศทางเดียวกัน สำหรับผมเองก็ได้มีการปรับปรุงแนวคิดของWaste Management Hierarchy มาจาก UNEP (2011), เพื่อนๆ สามารถนำไปปรับใช้ดูได้นะครับ เพื่อช่วยในการบริหารจัดการของเสียที่เกิดขึ้น
“การป้องกันการเกิดขยะ เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด
และการส่งของเสียไปฝังกลบควรเป็นทางเลือกสุดท้าย”