Emergency Response Drill : Chemical and Hazardous Waste Spills
ขั้นตอนการดําเนินการฝึกซ้อมทบทวนตอบโต้เหตุฉุกเฉินสารเคมี ควรมีการกําหนดขั้นตอนการดําเนินงานเบื้องต้น ดังนี้
1) จัดทําสถานการณ์จําลองเหตุฉุกเฉินสารเคมี สําหรับการฝึกซ้อมทบทวนการเผชิญเหตุฉุกเฉินสารเคมี ที่สอดคล้องกับความเสี่ยงอันตรายของสารเคมีจากกิจกรรมต่าง ๆ ในพื้นที่ เช่น กิจกรรมการขนส่ง กิจกรรมการขนถ่าย กิจกรรมการจัดเก็บ กิจกรรมการผลิต เป็นต้น พร้อมทั้งจัดการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการตอบโต้และการแก้ไขปัญหาผลกระทบ สิ่งแวดล้อม การดูแลความปลอดภัยต่อสาธารณชน การเยียวยารักษาต่อผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุฉุกเฉินสารเคมี เพื่อเตรียมการฝึกซ้อมทบทวนการเผชิญเหตุฉุกเฉินสารเคมีและกําหนดบทบาทหน้าที่ของหน่วยงานเข้าเผชิญ เหตุตามสถานการณ์จําลอง กําหนดแนวทางการรายงานเหตุการณ์และประสานการปฏิบัติงาน กําหนดแนวทาง และเทคนิคในการตอบโต้เหตุฉุกเฉินตามสถานการณ์จําลองที่กําหนดขึ้น
2) ทบทวนความรู้ในด้านเทคนิคการระงับภัยจากสารเคมี เช่น
> บทบาทหน้าที่ในการตอบโต้เหตุฉุกเฉิน
> การจัดการเหตุฉุกเฉินจากสารเคมี ณ ที่เกิดเหตุ
> การประเมินความเสี่ยงมลพิษในสิ่งแวดล้อม การบ่งชี้ความเป็น
อันตรายและประเมินความเสี่ยงการปนเปื้อนมลพิษจากเหตุฉุกเฉิน
สารเคมีในสิ่งแวดล้อม รวมถึงการประเมินผลกระทบและปกป้อง
สุขภาพอนามัยสาธารณชน การรักษาพยาบาล
3) จัดการฝึกซ้อมแผนการเผชิญเหตุฉุกเฉินสารเคมีกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการตอบโต้เหตุฉุกเฉินในระดับการฝึกซ้อมในที่ประชุม (Table top exercise) ภายใต้สถานการณ์จําลองที่กําหนดขึ้น
4) ทบทวนข้อดี – ข้อเสีย ของแผนการเผชิญเหตุฉุกเฉินสารเคมี เพื่อดําเนินการปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
5) ปรับปรุงแผนการเผชิญเหตุฉุกเฉินสารเคมีเบื้องต้น ให้เหมาะสม กับฝึกซ้อมทบทวนการปฏิบัติการตอบโต้เหตุฉุกเฉินในระดับปฏิบัติเจาะจงขั้นตอนการปฏิบัติ (Functional Exercise)
6) ดําเนินการซ้อมแผนการเผชิญเหตุฉุกเฉินสารเคมีในระดับ การฝึกปฏิบัติเจาะจงขั้นตอนการปฏิบัติ (Functional Exercise)
7) ประเมินผลการฝึกซ้อมทบทวนการตอบโต้เหตุฉุกเฉินสารเคมี ตามวัตถุประสงค์การฝึกซ้อมแต่ละขั้นตอน เช่น การแจ้งเหตุการบัญาชาการและสั่งการ การประเมินสถานการณ์ ณ ที่เกิดเหตุการบริหารจัดการทรัพยากรการสื่อสาร การดําเนินการแจ้งเตือนแก่สาธารณชน การประชาสัมพันธ์ การคุ้มครองสาธารณชน ความปลอดภัยของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานฉุกเฉิน การดูแลผู้อพยพ เป็นต้น
ทบทวนข้อดี – ข้อเสียของแผนการตอบโต้เหตุฉุกเฉินสารเคมี เพื่อดําเนินการปรับปรุงให้เกิดประสิทธิภาพต่อไป
9) ปรับปรุงแผนการตอบโต้เหตุฉุกเฉินสารเคมี ให้เหมาะสมกับการปฏิบัติการ และประกาศใช้แผนต่อไป
>> รูปแบบการฝึกซ้อมทบทวนการตอบโต้เหตุฉุกเฉินสารเคมี <<
การฝึกซ้อมทบทวนการตอบโต้เหตุฉุกเฉินสารเคมีมีด้วยกันหลายรูปแบบขึ้นอยู่กับความพร้อม และงบประมาณในการดําเนินการฝึกซ้อมซึ่งมีรูปแบบ ดังนี้
1) การฝึกซ้อมบนโต๊ะ (Table top exercise) เป็นการรวมกลุ่มกันของเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการ ฉุกเฉินในลักษณะไม่เป็นทางการ ไม่จํากัดเวลาและดําเนินการในห้องประชุม และมีวัตถุประสงค์ให้ผู้เข้าร่วม ฝึกซ้อมฝึกการแก้ไขปัญหาและแนวทางการแก้ไขภายในห้องประชุมและภายใต้สภาวะการณ์ที่ไม่มีแรงกดดัน การทดสอบในรูปแบบนี้มักใช้ในการเตรียมการเพื่อดําเนินการทดสอบแบบเจาะจงขั้นตอน การปฏิบัติและ การทดสอบเต็มรูปแบบต่อไป
2) การทดสอบเจาะจงขั้นตอนการปฏิบัติ (Functional Exercise) เป็นการฝึกปฏิบัติในสถานการณ์ จําลองจริงมากขึ้น โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติเพียงขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของแผนปฏิบัติการและมีวัตถุประสงค์ เพื่อทดสอบความสามารถของบุคลากรและระบบการปฏิบัติงาน
3) การทดสอบเต็มรูปแบบ (Full-Scale Exercise) เป็นการนําบุคลากรและอุปกรณ์มาฝึกปฏิบัติจริง ภายใต้สถานการณ์จําลองและเป็นการนํามาใช้ประโยชน์ในการประเมินประสิทธิภาพของการปฏิบัติในลักษณะ ที่มีการตอบโต้เหตุกับสถานการณ์จําลอง มีการฝึกปฏิบัติทุกขั้นตอน และใช้ทรัพยากรหลากหลายสาขา
การกําหนดสถานการณ์จําลองสําหรับการฝึกซ้อมทบทวนการตอบโต้เหตุฉุกเฉินสารเคมี
สถานการณ์จําลองเป็นการสมมุติสถานการณ์ขึ้นอย่างมีขั้นตอน เพื่อสร้างสถานการณ์และนําไปสู่ การฝึกซ้อมเผชิญเหตุฉุกเฉินจากสารเคมีสถานการณ์จําลองที่เหมือนจริงจะช่วยให้การฝึกซ้อม การเผชิญเหตุ ฉุกเฉินได้ผลยิ่งขึ้น ซึ่งลักษณะของสถานการณ์จําลองมีหลายรูปแบบ เช่น
>> การรั่วไหลของสารเคมีอันตราย ร้ายแรงและเกิดเพลิงไหม้ในโรงงานอุตสาหกรรม
>> การรั่วไหลของสารเคมีอันตรายร้ายแรงและเกิดเพลิงไหม้ ในโกดังสินค้าหรือลานแท็งจัดเก็บสารเคมีและวัตถุอันตราย
>> การรั่วไหลของสารเคมีระหว่างการขนส่งสารเคมี และวัตถุอันตราย เป็นต้น